วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.      อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินเทอร์เน็ต หมายความว่า เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล  คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2.      จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  1) สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลด้านต่างๆและสิ่งที่ตัวเองสนใจ
2) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3) นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนต่างๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3.      จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ  1) ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2) ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3) สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
4) ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
5) ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
6) ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.      การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์
5.      ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  ช่วยให้ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เชื่อมโยงเป็นระบบและทำให้สืบค้นได้ง่ายขึ้น
6.      จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ  1.เป็นบริการรับส่งข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์  ที่มีข้อมูลเป็น เอกสารสำคัญ รูปภาพ เสียง หรืออื่นๆ และสามารส่งได้อย่างรวดเร็ว
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

1.      จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ ครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.อินทราเน็ต (Intranet) คือเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร  และข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
2.เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือ เป็นเครือข่ายแบบองค์กรเหมือนกับ อินทราเน็ต แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตเชื่อมต่กับเครือข่ายได้ เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
3.อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนที่อยากจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายสามารถเชื่อมต่อได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ได้มีการกำหนดไว้
4.รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอรืประเภทต่างๆ เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์  ดังนั้น รูปแบบของการนำเสนอข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงอาจแตกต่ากันได้
2.      อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ  ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร  หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร
3.      จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ   http;//www.google.com                                                           
        http://www.altavista.com
        http://www.excite.com
        http://www.yahoo.com เป็นต้น
4.      จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ  ให้พิมพ์คำที่ต้องการหาหรือเกี่ยวข้องกันลงไป  แล้วกดแป้น Enter  หรือคลิกปุ่ม  Go  บนหน้าจอ Google  ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นหา
5.      Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  Digital library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) คือ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของ    สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์
6.      จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ เว็บไซต์ SchoolInet@1509 (http://www.school.net.th)

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8

1. ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัถตุประสงค์อย่างไร
ตอบ  1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนองาน
          2.ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การดึงดูดความสนใจ                                                          
        2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
        3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ การบรรยายสดเหมาะสำหรับการประชุมสัมนา  เพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม และมีการสร้างบรรยกาศให้เหมาะสมกับช่วงเวลาอารมณ์ที่จะพูด
         ส่วนการพากย์ เหมาะสำหรับการถ่ายทอดโดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม อาจมีการพากย์เสียงที่ไพเราะ และเติมเสียงประกอบ เพื่อสร้างบรรยากาศ
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. เครื่องฉายสไลด์
        2. เครื่องฉายแผ่นใส
        3. เครื่องฉาย Data Projector หรือ LCD Projector
1.5รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation มีดังต่อไปนี้ คือ
1.1 โดยใช้โปรแกรม Power Point
1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow Gole
1.3 โปรแกรม Flip Album
2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Assisted Insturction) มีดังต่อไปนี้
2.1 การใช้โปรแกรม Authorware
2.2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle
3.รูปแบบ Social Network มีดังต่อไปนี้
3.1 การใช้เว็บบล็อก (Weblog) เพื่อการเรียนการสอน
3.2 การนำเสนอแบบ Web page
3.3 Word press
ความหมายของ ICT(ไอซีที)








"ICT-ไอซีที" นั้น คือ ตัวย่อของ Information and Communication Technology ขยายความเป็นไทยได้ว่า "เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร" ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT

อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า "I" Information -สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ

"C" Communications-การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้


กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ

"T" Technology-เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว

ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน





อ้างอิง https://www.l3nr.org/posts/32717
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที  (ICT – Information and Communication Technology) ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ทั่วโลก เชื่อมโยงผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยเข้าด้วยกัน 
ICT มาจากคำ 3 คำ ประกอบกัน คือ
I คือ Information หมายถึงสารสนเทศ ในบางครั้งหมายถึงข้อมูล
C คือ Communication หมายถึงการสื่อสาร
T คือ Technology หมายถึงเทคโนโลยี 
เมื่อนำมารวมกัน ไอซีที หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ รวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
ดังนั้น สื่อไอซีที หมายถึง สื่อที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ในการสื่อสาร ถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ต่างๆ จากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร  ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสื่อไอซีทีหลักๆ 3 ตัว ได้แก่ อินเทอร์เน็ต เกมอิเล็กทรอนิกส์ และโทรศัพท์มือถือ เท่านั้น
·         รู้จักอินเทอร์เน็ต (Internet)
·         เด็กและเยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรได้บ้าง ?
·         รู้เท่าทันอินเทอร์เน็ต
o    เด็กๆ ต้องรู้เท่าทันเว็บไซต์
o    เด็กๆ ต้องรู้เท่าทันคนบนอินเทอร์เน็ต
o    เด็กๆ ต้องรู้ว่าของทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตมีเจ้าของ
o    เด็กๆ ต้องไม่หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
o    เด็กๆ ต้องรู้ว่าของฟรีไม่มีในโลก
o    เด็กๆ ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม
o    เด็กๆ ต้องรู้จักมารยาทพื้นฐานในการใช้อินเทอร์เน็ต
·         เกม (Game)
·         การเล่นเกมส่งผลอย่างไร
o    ในด้านบวก
o    ในด้านลบ
·         การติดเกม
·         รู้เท่าทันเกม
o    เด็กๆ ควรรู้ทันเกม
o    ในด้านลบ
o    สำรวจตัวเอง ติดเกมหรือไม่
o    เด็กๆ ควรเลือกเกมให้เหมาะสมกับเพศและวัย
·         โทรศัพท์มือถือ
·         ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
·         รู้เท่าทันมือถือ
o    เด็กๆ ควรรู้ทันโฆษณามือถือ
o    อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
o    เด็กๆ ไม่ควรหลงโปรโมชั่นมือถือ
o    อย่ารับแจกซิมฟรี
o    เด็กๆ ถูกรบกวนทางมือถือ
o    เด็กๆ เคยมั้ย ทดลองใช้บริการฟรี แต่เสียเงิน
o    เน็ตความเร็วสูง ขายฝัน
o    โรคติดมือถือ
o    อย่าลืมเรื่องมารยาทในการใช้มือถือ

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) อินเทอร์เน็ตทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ราคาประหยัด สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง เด็กๆ คงจะคุ้นเคยกับการส่งอีเมล (email) การแช็ททางเอ็มเอสเอ็น (MSN) หรือ สไกป์ (Skype) การแชร์รูปภาพทางเฟซบุ๊ค (Facebook) หรือ การดูวิดีโอทางยูทิวบ์ (Youtube) เหล่านี้ทำได้ในเสี้ยววินาที

อินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาแบบเปิด ผู้ใช้ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างเนื้อหาข้อมูล เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้รับข้อมูล เป็นผู้อ่านข้อมูล เป็นผู้แสดงความคิดเห็น ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เราตั้งกระทู้แล้วมีคนมาตอบกระทู้ เราใส่ข้อมูลลงบนเว็บไซต์ก็อาจมีคนสนใจมาอ่านแล้วนำสิ่งที่เราเขียนไปใช้ เป็นต้น อินเทอร์เน็ตจึงเอื้อให้เกิดการส่งผ่านข้อมูล ความรู้ ความคิด ทัศนะ มุมมอง ข้อมูลทั้งด้านบวกและลบ อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีหน่วยงานใดตรวจเซ็นเซอร์ แม้จะมีความพยายามในการคัดกรองหรือปิดกั้นข้อมูลไม่ดีบนอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น เว็บไซต์ลามกอนาจาร การพนัน ความรุนแรง ลัทธิต้องห้ามต่างๆ  แต่ก็เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และไม่มีทางที่จะทำได้ทัน การให้ความรู้กับผู้ใช้เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย ไม่ทำร้ายคนอื่น ใช้ในทางที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ น่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า


o    สืบค้นข้อมูล (Search) หรือ เปิดดูเว็บไซต์ หรือ เวิร์ล ไวด์ เว็บ (WWW – World Wide Web) หมายถึง การเรียกดูข้อมูลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ได้แก่ ไออี (IE – Internet Explorer) หรือ โมซิลล่า ไฟร์ฟอกซ์  (Mozilla FireFox) การเปิดดูเว็บไซต์ ผู้ใช้ต้องรู้ชื่อเว็บไซต์ เช่น  เว็บไซต์กูเกิล www.google.co.th  เว็บไซต์สนุกดอทคอม www.sanook.com หรือ เว็บไซต์ยูทิวบ์ www.youtube.com
o    รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email)  หมายถึง การพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารกับอีกฝ่ายหนึ่งในลักษณะของจดหมาย ซึ่งอาจแนบเอกสาร รูปภาพ คลิปวิดีโอ (video clip) หรือคลิปเสียงไปกับจดหมายนี้ได้ จดหมายจะถูกส่งไปยังผู้รับบนอินเทอร์เน็ตในรูปของอีเมล ของผู้รับซึ่งจะต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address เช่น noosom@hotmail.com) ผู้รับสามารถมาเปิดอ่านจดหมาย ดูเอกสารแนบต่างๆ และตอบกลับอีเมล (reply) ได้ในลักษณะเดียวกัน
o    สนทนาออนไลน์ หรือ แช็ท (chat)  หมายถึง การพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาในลักษณะประโยคต่อประโยค ปัจจุบันมักใช้โปรแกรมแช็ท เช่น MSN หรือ Skype ควบคู่กับการใช้กล้องเล็กๆ ที่เรียกว่า เว็บแคม (web cam) ไมโครโฟน และหูฟัง เพื่อให้เป็นการพูดคุยแบบธรรมดา คือ เห็นหน้า ได้ยินเสียง แทนการพิมพ์ข้อความ
o    การแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยผ่านกระดานข่าว หรือ เว็บบอร์ด (webboard) หมายถึง การโพสต์ (post) กระทู้หรือแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ ลงบนเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เด็กๆ จะได้พูดคุยหรือแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องที่สนใจ เช่น ประเด็นข่าว การเมือง กีฬา หรือประเด็นฮอตฮิตของสังคมในขณะนั้น เว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมในการโพสต์กระทู้ได้แก่ เว็บไซต์พันธทิพย์ดอทคอม  www.pantip.com
o    การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) เช่น  www.twitter.com หรือwww.facebook.com หมายถึง การสร้างกลุ่มเพื่อนเอาไว้ติดต่อพูดคุยและอัพเดทข่าวสารของกันและกัน กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในหมู่คนไทย สามารถเล่นเกมผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็ได้ เช่น เฟซบุ๊ค มีเกมทำฟาร์ม หรือ farmvlillage  เกมร้านอาหาร หรือ restaurant city เกมแฮปปี้คนเลี้ยงหมู เป็นต้น
o    ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม บนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์หลายแห่งให้บริการเล่นเกมออนไลน์ ให้ดาวน์โหลด (Download) หนัง ละคร การ์ตูน หรือคลิปวิดีโอมาดูที่บ้านก็ได้ หรือจะคลิกดูออนไลน์ทางเว็บไซต์ก็สามารถทำได้
o    ถ่ายภาพดิจิทัล หรือถ่ายคลิปวิดีโอด้วยกล้องหรือโทรศัพท์มือถือ อัพโหลด (Upload) ขึ้นโชว์เพื่อนๆ ทางเว็บไซต์อย่างเฟซบุ๊ค หรือ ฟลิคเกอร์ www.flickr.com  หรือ ยูทิวบ์ www.youtube.com


เนื่องจากเราทำอะไรได้หลายอย่างบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นข้อมูล การอ่านข่าวสาร การเขียนแสดงความคิดเห็น การพูดคุยสนทนา การเรียกดูและเผยแพร่รูปภาพ คลิปวิดีโอต่างๆ ฯลฯ  ซึ่งก็หมายความว่า สื่ออินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้เราเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสาร เป็นทั้งผู้อ่านและผู้เขียน เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตเนื้อหาข้อมูล เรายิ่งจะต้องระมัดระวังไม่ให้สิ่งที่เราได้อ่านได้ยินได้สัมผัสทางอินเทอร์เน็ตมามีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ หรือพฤติกรรมของเรา ในขณะเดียวกัน เราต้องไม่จงใจเขียนหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จะทำให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อโดยรู้ไม่เท่าทันเช่นกัน


 - เมื่ออ่านเนื้อหาข้อมูลบนเว็บไซต์ เด็กๆ ต้องรู้จักสงสัยและตั้งคำถาม ใครเป็นคนเขียนข้อมูลบนเว็บไซต์ คนเขียนมีความชำนาญในเรื่องที่เขียนหรือไม่ ข้อมูลใหม่ทันสมัยหรือตกยุคไปแล้ว เว็บไซต์นั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทของเขาหรือต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าหรือเปล่า กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์เป็นใคร ผู้เขียนกระทู้มีจุดประสงค์อะไร มีอารมณ์อย่างไรขณะที่โพสต์ ฯลฯ 

การอ่านทบทวนและทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อ่านจากเว็บไซต์ การตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบ ก็เพื่อให้รู้จักเลือกใช้ข้อมูล เพื่อไม่ให้เชื่อหรือคล้อยตามและตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาขายสินค้า เพื่อไม่ให้ถูกหลอกถูกโกงจากกระทู้ขายสินค้า เพื่อไม่หลงเชื่อคำบอกกล่าวของคนไม่ใช่หมอแต่ชอบทำตัวเป็นหมอที่คอยให้คำแนะนำกับผู้อ่านเว็บบอร์ดให้กินยาตัวโน้นทายาตัวนี้ เพื่อให้เลิกตื่นตระหนกตกใจกับข่าวโคมลอยทางเน็ต เพื่อไม่หลงใช้ข้อมูลเก่าๆ ล้าสมัยบนเว็บไซต์ เพื่อไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูลที่ก๊อปปี้หรือส่งต่อๆ กันมาแล้วส่งต่อๆ กันไป

อย่าลืมเลือกเว็บไซต์ดีๆ ที่มีสาระ เว็บไซต์ข่าวสาร เว็บไซต์สุขภาพ แหล่งเรียนรู้มากมายทั่วโลกได้ถูกนำเสนอในรูปของเว็บไซต์ที่เราสามารถเข้าไปคลิกชมได้ เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สารานุกรมทั้งของไทยและต่างประเทศ สารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟฟี (National Geography) ดิสคัฟเวอรีชาแนล (Discovery Channel)  บีบีซี (BBC) ซีเอ็นเอ็น (CNN) หรือแม้แต่ดีสนีย์ (Disney) ก็มีบริการบนเว็บไซต์ หากต้องการสืบค้นข้อมูลหรือค้นหาเว็บไซต์ อย่าลืมใช้เครื่องมือสืบค้น หรือ เสิชเอ็นจิ้น (Search Engine) ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว เช่น กูเกิ้ล www.google.com หรือ ยาฮู www.yahoo.com

พบเห็นเว็บไซต์เนื้อหาไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย เป็นอันตรายต่อเด็ก ละเมิดต่อสถาบันอันเป็นที่รักของเราชาวไทย เป็นภัยต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ ช่วยกันสอดส่องและปราบปราม โดยแจ้งชื่อเว็บไซต์ดังกล่าวไปที่ เว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ www.thaihotline.org  หรือ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ htcc.ict.police.go.th/webadvise/  หรือ  กระทรวงไอซีที  www.mict.go.th/re_complaint.php


- ไม่ใช่ว่าทุกคนที่พูดคุยกับเราบนโลกออนไลน์จะเป็นมิตรเสมอไป บนอินเทอร์เน็ตมีมิจฉาชีพ มีคนดี คนโกง มีเพื่อน มีศัตรู เช่นเดียวกับในสังคมปกติที่เราเดินสวนกันไปมานั้นก็มีทั้งคนดีและคนเลว เรายิ่งต้องระมัดระวังการคบเพื่อนบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีเปิดโอกาสให้เราบอกรับเพื่อนได้ง่ายๆ เพียงแค่เขาส่งคำขอเป็นเพื่อนมาทางอีเมล ทางเฟซบุ๊ค ทางเอ็มเอสเอ็น แล้วเราก็ตอบรับ โดยไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคยพูดคุย หรือรู้จักกันมาก่อนว่าเขาเป็นลูกเต้าเหล่าใคร บ้านช่องอยู่ที่ไหน โลกอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละคนสามารถสร้างตัวตนใหม่ที่สวยกว่า รวยกว่า นิสัยดีกว่า หลอกลวงกันได้ง่ายๆ

เด็กๆ ต้องตระหนักรู้ในความจริงที่ว่า แม้เราแช็ทหรือส่งอีเมลพูดคุยกับใครสักคนมาแล้ว 1 เดือน หรือ 3 เดือน  ก็ไม่ได้แปลว่าเรารู้จักเขาแล้ว เพราะการติดต่อสื่อสารกันบนอินเทอร์เน็ตนั้น เริ่มต้นจากการพูดคุยกันด้วยตัวหนังสือ ดูรูปถ่ายที่เขาส่งมาให้ ซึ่งอาจไม่ใช่ภาพจริงนิสัยจริงก็ได้ เด็กจำนวนมากโดนหลอกล่วงละเมิดทางเพศ หายตัวออกจากบ้าน หลังจากแช็ทกับเพื่อนใหม่ทางอินเทอร์เน็ต มิจฉาชีพมักแกล้งทำดีกับเรา ทำเป็นเข้าอกเข้าใจเรา อาสาแก้ปัญหาให้เรา เช่น ให้เงินซื้อกระเป๋า รองเท้า ของที่เราอยากได้ ยอมเป็นเพื่อนคุยยามเหงา พวกนี้มักมีความอดทน มีจิตวิทยาในการพูดคุย และเมื่อเขาได้ความไว้วางใจจากเรา เขาจะเริ่มขอเบอร์โทรศัพท์ ขอนัดพบ และหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นก็คือภัยมาถึงตัวเมื่อเด็กไปตามนัด เหยื่อบางรายถูกคนร้ายมาดักฉุดจากบ้านหรือหน้าโรงเรียนเพราะเคยเผลอบอกที่อยู่หรือชื่อโรงเรียน และเคยแลกรูปถ่ายกัน ดังนั้น ข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น หมายเลขโทรศัพท์ รูปถ่าย ที่อยู่ที่บ้าน บัตรประจำตัว รหัสบัตรต่างๆ ทั้งของตัวเองและของพ่อแม่  เป็นสิ่งมีค่าที่เด็กๆ ไม่ควรโพสต์บนเว็บไซต์ หรือแจกใครๆ บนอินเทอร์เน็ต


- ใช่ว่าทุกอย่างที่เห็นบนหน้าจอจะก๊อปปี้มาใช้ได้ หนัง เพลง รูปภาพ โปรแกรม บทความ ผลงานต่างๆ บนเน็ตล้วนมีเจ้าของ  งานบางชิ้นมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร มีการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของผลงานบางคนยินดี ให้ก๊อปปี้งานของเขามาใช้ได้โดยไม่คิดเงิน เจ้าของบางคนขอให้ระบุข้อความให้เครดิตเขาด้วยหากเราจะนำเนื้อหาข้อมูลหรือรูปภาพของเขามาใช้ เจ้าของบางคนไม่ยินยอมให้เผยแพร่งานของเขาหากไม่ได้ขอและอนุญาตกันเป็นลายลักษณ์อักษร เด็กๆ ต้องรู้จักเรื่องลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา รู้จักให้เกียรติให้เครดิตเจ้าของผลงาน ไม่ละเมิด ไม่ขโมยผลงาน หรือแอบอ้างว่าเป็นผลงานของตนแม้อินเทอร์เน็ตจะเอื้อให้การก๊อปปี้การขโมยผลงานทำได้ง่ายๆ ก็ตาม
ภาพยนตร์ เพลง ซอฟต์แวร์ หรือผลงานที่จดลิขสิทธิ์  จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ดาวน์โหลดของที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ และมีความผิดตามกฎหมาย


แม้อินเทอร์เน็ตจะเปิดให้รับรู้ข่าวสาร จะพูด จะเขียน หรือแสดงความคิดเห็นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ในเวทีสาธารณะอย่างเว็บบอร์ดหรือแช็ทรูม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีขอบเขต สิทธิเสรีภาพที่ดีจะต้องไม่ไปละเมิดผู้อื่น ดังนั้น การส่งต่อคลิปลับดารา การโพสต์กระทู้ด่าทอ เสียดสีคนอื่น การตัดต่อภาพที่ทำให้เจ้าตัวเขาได้รับความอับอายหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากสังคมนั้นผิดกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง


มีเว็บไซต์หลายแห่งชอบโปรโมทตัวเองว่าแจกฟรี โปรแกรม หนัง เพลง พวกเรามักตื่นเต้นเวลาได้ยินคำว่า ฟรีจงระลึกไว้เสมอว่าของฟรีไม่มีในโลก ต้องมีใครสักคนที่จ่ายค่าความคิด ค่าผลิต และค่าโฆษณาถ้ามีคนลงทุนแล้วเขาได้อะไรจากการแจกฟรี ยกตัวอย่างเช่น
ฮอตเมล (www.hotmail.com) แจกฟรีอีเมลให้คนทั่วโลก สิ่งที่เขาได้คือค่าโฆษณาบนเว็บไซต์ เว็บไซต์บางแห่งยังส่งโฆษณาสินค้าไปให้สมาชิกทางอีเมล จึงไม่ต้องสงสัยว่าเหตุใดตู้จดหมายของเราจึงอัดแน่นไปด้วยอีเมลโฆษณา เว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีต่างๆ บางครั้งก็เอาของที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแจกฟรี ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้อย่างเราต้องติดคุกในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ไปด้วย ที่แย่ไปกว่านั้นคือเว็บไซต์แจกฟรีทั้งหลาย มักมีของแถมอีกชนิดหนึ่งคือไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมอันตรายต่างๆ ที่พวกแฮกเกอร์แอบวางไว้ เพื่อให้ติดไปกับผู้ใช้งานที่ไม่ระมัดระวังตนเอง โปรแกรมเหล่านี้มักทำอันตรายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลของเรา บางครั้งก็ทำให้เครื่องทำงานผิดปกติ เป็นต้นว่า ทำงานช้าลง ฮาร์ดดิสก์เต็มเร็วขึ้น ลำโพงส่งเสียงประหลาด ฯลฯ คำว่า แฮกเกอร์ (Hacker) ใช้กับผู้มีความรู้ความชำนาญพิเศษทางด้านคอมพิวเตอร์ แต่ในระยะหลังแฮกเกอร์ที่ตกเป็นข่าวส่วนใหญ่ใช้ความรู้ความสามารถในทางหาประโยชน์ เช่น เจาะระบบเข้าขโมยข้อมูลธนาคาร แก้ไขตัวเลขในบัญชี จึงทำให้คำว่าแฮกเกอร์ในระยะหลังมีความหมายในด้านลบ


 - ไม่เล่นเน็ต แช็ทกับเพื่อน อ่านการ์ตูนออนไลน์ ดูหนัง ฟังเพลง เพลิดเพลินกับกิจกรรมมากมายบนอินเทอร์เน็ตจนลืมการเรียน หรือจะต้องช่วยงานบ้านพ่อแม่ อย่าลืมว่าผู้สร้างอินเทอร์เน็ตต้องการให้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสาร สืบค้น เข้าถึง กระจาย และหมุนเวียนข้อมูลข่าวสาร เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาหรือทำให้ดียิ่งขึ้น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทรงอานุภาพที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีสื่อใดทำได้มาก่อน ดังนั้น จงใช้อินเทอร์เน็ตให้สมประโยชน์ สมตามความมุ่งหมายของผู้สร้างที่อุตส่าห์สร้างสรรค์มาให้พวกเราได้ใช้กัน


8.            ใช้อินเทอร์เน็ตทำแต่กิจกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เป็นภัยต่อสังคม
    1. ใช้ภาษาสุภาพ เคารพและให้เกียรติผู้อื่น การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง ต้องนึกว่าเราสื่อสารกับคนที่เรารู้จัก มีตัวตน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้นควรพูดดี และหวังดีต่อกัน
    2. คิดก่อนโพสต์ หรือส่งอีเมล หากเราจะส่งข้อความ รูปภาพ เสียง หรือคลิปวิดีโอใดๆ ไปในอินเทอร์เน็ต ควรคิดทบทวนเสียก่อนว่าไม่ได้สร้างความเสียหายหรือทำร้ายใคร เพราะเมื่อส่งไปแล้วจะเรียกคืนไม่ได้ หนำซ้ำคนอื่นอาจก๊อปปี้สิ่งที่เราส่งนั้นไปตกแต่ง บิดเบือน หรือส่งต่อ สร้างความเสียหายหรือผลกระทบอย่างที่เราคาดไม่ถึง
    3. แบ่งปันความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ หากมีสิ่งที่ดีสามารถนำมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า เนื้อหาดีให้กด like เนื้อหาร้ายไม่กด share ”  อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลข่าวสารนั้นก่อนที่จะกดไลค์หรือแชร์
    4. ควบคุมอารมณ์ เวลาแสดงความคิดเห็นบนเวทีสาธารณะอย่างเว็บบอร์ด เป็นไปได้ที่จะมีคนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เราโพสต์ จงยอมรับความเห็นที่แตกต่าง ควรรู้จักยับยั้งชั่งใจหรือควบคุมอารมณ์ไม่ทะเลาะวิวาทกับคนที่มีความเห็นหรือความรู้สึกที่แตกต่างหรืออยู่คนละขั้ว
    5. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่เปิดอ่านอีเมลของคนอื่น ไม่ส่งต่อข้อมูลหรือความลับของคนอื่น แม้จะได้รู้ได้เห็นหรือได้รับจากการส่งต่อ (forward) กันมาก็ตาม ไม่มีใครอยากตกเป็นที่ซุบซิบนินทา เสียหาย หรือเป็นเหยื่อ ของสังคม แม้แต่ตัวเราเอง เพราะฉะนั้นต้องคิดก่อนส่งต่อหรือแชร์ข้อมูล

เกม (Game)
เกม ในที่นี้หมายถึงเกมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เกมคอมพิวเตอร์ และเกมออนไลน์ เกมคอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากวิดีโอเกม ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 40 ปี ปัจจุบันแบ่งเกมเป็นหลายประเภท หากแบ่งตามเครื่องเล่น ได้แก่ เกมเครื่อง (เช่น เพลย์สเตชั่น) เกมพกพา (เช่น Nintendo, PSP, DS) เกมพีซีคือเล่นบนคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์คือเล่นบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย เกมบนโทรศัพท์มือถือ เกมตู้ (หยอดเหรียญ) เป็นต้น  หากแบ่งตามวิธีการเล่น ได้แก่ เกมแอ็คชั่น เกมผจญภัย เกมวางแผน เกมจำลอง เกมสวมบทบาท เป็นต้น

เกมถูกสร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานหลายอย่างของคน ถูกออกแบบมาอย่างดีโดยนักออกแบบและพัฒนาเกม ในเกมเราทำภารกิจซ้ำๆ ได้หลายครั้ง เช่น ลองผิดลองถูก ตายแล้วรีเซตเกมใหม่ แต่ในชีวิตจริงเรื่องบางเรื่องเราลองหลายครั้งไม่ได้ เราตายได้ครั้งเดียวเท่านั้น เราสร้างตัวตน ฝึกฝนจนเก่งกาจ เป็นที่ยอมรับได้ไม่ยากในเกม เราอาจเป็นแช็มป์เทนนิสในเกมได้ในเวลาเพียงสามเดือน แต่ในชีวิตจริงนักเทนนิสมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายใช้เวลาเป็นสิบๆ ปีกว่าจะก้าวขึ้นมาถึงจุดที่ได้รับการยอมรับอย่างที่เห็น  เกมท้าทายความสามารถ มีด่านยากง่ายให้เล่น มีปริศนาให้แก้ โจทย์ยากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งท้าทายผู้เล่น  เกมเติมเต็มจินตนาการ เช่น การผจญภัยในโลกแฟนตาซี เราได้สวมบทบาทตัวละครต่างๆ ในเกม เกมออนไลน์ทำให้เรามีเพื่อนใหม่ๆ เกมทำให้เราหลุดออกจากโลกที่จำเจอย่างการงาน การเรียน หลายๆ เหตุผลที่กล่าวมาแล้วนี่เอง ที่ทำให้คนชอบเล่นเกม และบางรายถึงกับติดเกม


ในด้านบวก  เกมสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  เพราะมีความสมจริงทั้งภาพ แสง สี และเสียง  ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครในเกมได้  ทำให้เข้าถึงอารมณ์ในเกม  เกมออนไลน์ทำให้เด็กๆ มีเพื่อนใหม่ที่ร่วมเล่นเกมทำภารกิจในเกมร่วมกัน เกมยังมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น  คลายเครียด ได้รับความสนุก เกมฝึกทักษะ เช่น เกมกีฬา  เกมฝึกพิมพ์ เกมฝึกภาษา เกมเฉพาะด้าน เช่น ฝึกบิน ฝึกการรบในวงการทหาร เกมฝึกผ่าตัดในวงการแพทย์ เป็นต้น
ในด้านลบ เกมอาจทำให้เกิดโทษหากเด็กเลือกเกมไม่เหมาะสม หรือเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เช่น  หากเด็กเล่นเกมรุนแรง เกมผิดศีลธรรม ก็จะซึมซับ คุ้นชิ้นกับพฤติกรรมนั้นๆ ในเกมไปด้วย การใช้เวลาเล่นเกมมากเกินไป ทำให้เด็กติดเกม เป็นโรคเก็บตัว ซึมเศร้า ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ละเลยการเรียนและกิจกรรมอื่นๆ อาจก่อปัญหาอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเกม พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเด็กไม่ให้เล่นเกมมากจนเกินไป ควรเล่นเกมหลากหลายประเภท และเลือกเกมที่เหมาะกับเพศและวัยให้กับลูก หลีกเลี่ยงเกมที่ส่งเสริมความรุนแรง เกมลามก หรือเกมที่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และวัฒนธรรมสังคม


สิ่งที่พ่อแม่เป็นห่วงคือการที่ลูกๆ ติดเกม โดยทั่วไปแล้ว การเล่นเกม ชอบเกม ติดเกม นั้นไม่เหมือนกัน ทุกคนเล่นเกมได้ เล่นเมื่อว่าง เล่นแก้เซ็ง เล่นคลายเหงา เล่นเพราะเพื่อนชวน ถือว่าแค่เล่นเกม แต่ถ้าเล่นเกมแล้วสนุก มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็เล่นเกม เล่นไปเล่นมาบ่อยๆ ก็พัฒนาสู่ความชอบ ในระดับนี้คือมีความสนใจ อยากเล่น เล่นเมื่อว่าง เป็นงานอดิเรก แต่ถ้ามีการงานหรือติดภารกิจก็สามารถงดเล่นได้  คือไม่ได้ทำให้เสียงาน การเรียน หรือกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ แต่การติดเกมนั้นจะมีอาการรุนแรงกว่า เป็นต้นว่า อยากเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา มีภาพเกมในหัว อยากเพิ่มเวลาเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พยายามลดหรือตัดกิจกรรมอื่นๆ จะโมโหโกรธาหากไม่ได้เล่นหรือถูกบอกให้เลิกเล่น มักปลีกตัวจากสังคมและครอบครัวเพื่อมาเล่นเกม เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการเล่นเกมมากๆ จนเข้าขั้นติดเกม จะมีอาการเหมือนคนติดสารเสพติด คือมีความสุขเมื่อได้เล่น กระหายที่จะเล่นอยู่ตลอดเวลา จะหงุดหงิดโมโหจนถึงก้าวร้าวเมื่อไม่ได้เล่นหรือถูกขัดคอขณะเล่น
เด็กติดเกมบางคนต้องออกจากการเรียน และใช้เวลาบำบัดรักษาเป็นปีๆ กว่าจะกลับเข้าสู่สังคมปกติได้ การรักษาเด็กติดเกมต้องใช้จิตแพทย์พูดคุยร่วมกับการฝึกวินัยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งพ่อแม่จะต้องให้ความร่วมมือด้วย การรักษาเด็กติดเกมบางรายต้องใช้ยาควบคู่ไปกับการพูดคุยและปรับพฤติกรรม และใช้เวลาหลายปี ดังนั้น การป้องกันเด็กติดเกมโดยการฝึกระเบียบวินัยและการควบคุมเวลาการเล่นเกมตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นการป้องกันที่ดีกว่ามาตามแก้ไขกันเมื่อเด็กโตแล้ว ติดเกมมากแล้ว 


เด็กๆ ควรรู้ทันเกม – เกมถูกสร้างขึ้นมาให้ติด คือสนุกสนาน สมจริง ท้าทาย สนองตอบความต้องการพื้นฐานหลายอย่างของมนุษย์ คนเล่นเกมจึงมักติดเกมได้ง่ายๆ ผู้ผลิตเกมและร้านเกมสามารถทำเงินได้มากจากการขายแผ่นเกม ขายชั่วโมงเล่นเกม ขายสินค้าในเกม (item game) ดังนั้น ยิ่งผู้เล่นเล่นนานเท่าไหร่ เล่นหลายเกมเท่าไหร่ เล่นในระดับสูงขึ้นเท่าไหร่ บริษัทเขาก็ยิ่งได้เงินมากขึ้นเท่านั้น

สำรวจตัวเอง ติดเกมหรือไม่ – กลับบ้านพอวางกระเป๋าก็วิ่งเปิดเครื่องเล่นเกมก่อนเลย ถึงเวลาทานข้าวไม่ยอมลุก ยังเล่นเกมต่อไป อยากจะเล่นเกมทุกลมหายใจ มีภาพเกมในหัว อยากจะเพิ่มเวลาเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ พยายามตัดตัวเองจากกิจกรรมอื่นๆ ที่เคยทำเพื่อเอาเวลามาเล่นเกม เวลาถูกขัดจังหวะหรือใครบอกให้เลิกเล่นเกมจะโมโหหงุดหงิด เก็บตัวเงียบเล่นแต่เกม ไม่ค่อยสุงสิงกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเหมือนเคย ขาดความรับผิดชอบต่อการเรียน การงาน ไม่ช่วยเหลือพ่อแม่ หากน้องๆ มีอาการเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ ก็แสดงว่าติดเกมเสียแล้ว ให้พยายามลด ละ เลิก ฝึกควบคุมตนเองให้ได้ แต่ถ้าเกินความสามารถ คุณพ่อคุณแม่คงต้องพาไปพบจิตแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยด่วน
ป้องกันการติดเกม โดยการดูแลตัวเองตั้งแต่เริ่มเล่นเกม ควบคุมเวลาในการเล่นเกม เพื่อไม่ให้พัฒนาไปสู่ระดับการติดเกม จะได้ไม่เสียเงิน เสียเวลา เสียการเรียน เสียสุขภาพ และเสียเพื่อน เล่นเกมนั้นเล่นได้ แต่อย่าเล่นมากจนหมกมุ่น อย่าลืมว่ามีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจมากกว่านั่งขลุกอยู่หน้าจอ

เด็กๆ ควรรู้ทันเนื้อหาของเกม – เกมมีเนื้อหา มีเรื่องราว มีภารกิจที่ผู้เล่นจะต้องทำให้ได้ในเกม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจว่าเกมเป็นเพียงเรื่องสมมุติที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพิ่มสีสรร สร้างอรรถรส ไม่ใช่เรื่องจริง ผู้เล่นจะต้องแยกให้ออก ไม่ซึมซับอารมณ์ บทบาท หรือภารกิจที่ต้องทำในเกมเอาออกมาใช้ในชีวิตจริง เคยมีเด็กประถมกระโดดลงจากโต๊ะเลียนแบบในเกม แต่ผลคือเด็กขาหัก เคยมีวัยรุ่นจี้ชิงทรัพย์คนขับแท็กซี่เลียนแบบวิธีหาเงินในเกม แต่ผลคือวัยรุ่นพลั้งมือฆ่าคนขับแท็กซี่แล้วโดนตำรวจจับ

เด็กๆ ควรเลือกเกมให้เหมาะสมกับเพศและวัย - เลือกเกมที่เป็นประโยชน์ หรืออย่างน้อยไม่เป็นโทษต่อตัวเรา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมบ่อยๆ แม้รู้ทันเนื้อหาของเกม แต่บางครั้งก็อาจติดหรือซึมซับอารมณ์หรือบทบาทในเกมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น พฤติกรรมชกต่อย ขโมยของ เป็นต้น ทางที่ดีคือไม่เล่นเกมใดเกมหนึ่งติดต่อกันซ้ำๆ เป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้หมกหมุ่นหรือติดเกม ติดพฤติกรรมในเกมแล้วเอามาใช้ในชีวิตจริง


เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือและใช้บริการหลากหลาย ใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือวันละมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ส่งข้อความ เล่นเกมบนมือถือ ถ่ายรูป ถ่ายคลิปวิดีโอ ฟังเพลง รับข่าวสาร ปัจจุบันนี้ โทรศัพท์มือถือทำอะไรได้มากมายเรียกว่าสมาร์ทโฟน (Smart Phone) เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สามาถเปิดเข้าเว็บไซต์ ใช้บริการเฟสบุ๊ค ไฮไฟว์ ทวิตเตอร์ และส่งข้อความแช็ทกับเพื่อนๆ ได้ การคุยกันด้วยสมาร์ทโฟนสมัยนี้ ก็กลายเป็นแบบเรียลไทม์ เฟซทูเฟซ (real time face to face) คือถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงของคู่สนทนา ผ่านระบบเครือข่ายสามจี (3G) กลายเป็นของเล่น เป็นแฟชั่นของคนรุ่นใหม่เลยทีเดียว
โทรศัพท์มือถือช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะในยามคับขันและจำเป็น เป็นเครื่องมือสืบหาข้อมูลและให้ความบันเทิงในยามว่าง ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ก็อาจส่งผลกระทบด้านลบหากใช้อย่างไม่เหมาะสม เป็นต้นว่า ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ คุยโทรศัพท์กับเพื่อนมากเกินไปทำให้ละเลยการอ่านหนังสือหรือช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โทรศัพท์มือถือยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหากเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น แอบถ่ายใต้กระโปรง โหลดคลิปโป๊ เล่นพนัน ใช้ขู่กรรโชก และก่ออาชญากรรมอื่นๆ


จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น  641 คน สำรวจระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2555  ที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
14.          ร้อยละ 78.7 ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง ร้อยละ 17.4 ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง ขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุมีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 2 เครื่อง
    1. ร้อยละ49.4 ระบุใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี รองลงมาหรือร้อยละ 43.8 ระบุใช้สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน (iPhone)  แบลคเบอร์รี่ (BlackBerry) ซัมซุงกาแลคซี่ (Sumsung Galaxy) ร้อยละ12.7 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม และร้อยละ 7.7 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอขาว-ดำ
    2. ค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน พบว่า ร้อยละ 26.6 ใช้ไม่เกิน 300 บาท ร้อยละ 36.3 ใช้ตั้งแต่300 บาทแต่ไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 26.6 ใช้ตั้งแต่ 500 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 บาท และร้อยละ 10.5 ใช้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป เฉลี่ยค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือนอยู่ที่ 480 บาท
ข้อมูลที่น่าสนใจจากแหล่งอื่นๆ
17.          วัยรุ่นไทยใช้โทรศัพท์มือถือโทรหาเพื่อนบ่อยที่สุด ร้อยละ 55.9 รองลงมาเป็นแฟน ร้อยละ 26.2 ตามมาด้วยพ่อแม่ ร้อยละ 16.5 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2552 จาก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
    1. เยาวชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี โดยพ่อแม่ผู้ปกครองซื้อให้
    2. ใช้งานเฉลี่ยวันละประมาณ 1-5 ชั่วโมง โดยมีระยะเวลาโทรคุยต่อเนื่องยาวนานที่สุดประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที
    3. ช่วงเวลาที่ใช้โทรศัพท์จะเลือกตามความสะดวก รองลงมาคือช่วงเวลาหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน
    4. ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงิน (83.2%)
    5. พบการโฆษณาในหน้าท้ายๆ เล่มของนิตยสารหลายฉบับ ให้ดาวน์โหลดภาพหรือคลิปวิดีโอแนววาบหวิวโดยใช้โทรศัพท์มือถือ
    6. ในบางพื้นที่ เด็กซื้อโทรศัพท์มือถือหรือนำโทรศัพท์ไปซ่อม แล้วมีบริการโหลดภาพหรือคลิปวาบหวิวมาให้ในเครื่องเลย
    7. เด็กซื้อโทรศัพท์ราคาถูก เช่น ไอโฟน (จากแม่สาย) หรือ Blackberry แล้วใช้ซิมแบบแช็ท ในการแช็ทกับเพื่อนๆ ผ่านมือถือ ไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
    8. ข่าวดังจากประเทศสเปน เด็กอายุ 12 ปี ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือ นับเป็นรายแรกของประเทศสเปนที่ต้องได้รับการรักษาโรค เสพติดมือถือในโรงพยาบาลจิตเวช  (ข่าวปี พ.ศ. 2551 จากหนังสือ มือถือในมือเด็กของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (สำนักงาน กสทช.)
ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือกันมาก และมีแน้วโน้มเปลี่ยนเป็นสมาร์ทโฟนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และคนในเมืองที่มีความพร้อมในเรื่องของเครือข่ายความเร็วสูงมากกว่าก็จะใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วย

รู้เท่าทันมือถือ 
เด็กๆ ควรรู้ทันโฆษณามือถือ – บ่อยครั้งที่เราเห็นดารา นางแบบ นักร้อง หรือศิลปินที่น้องๆ ชื่นชอบเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาโทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้  ไม่เฉพาะโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นสินค้านานาชนิด บริษัทผู้ผลิตจ้างศิลปินมาใส่เสื้อผ้าสวยๆ มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดอยู่ในมือ และพูดโน้มน้าวให้เชื่อว่าโทรศัพท์ดีอย่างไร กระผม (ดิฉัน) ติดใจตรงไหน  ที่รูปทรงสวยนำสมัย ติดกล้องความละเอียดสูง ถ่ายภาพแล้วกดแชร์บนเน็ตได้เลย ฯลฯ  เหล่านี้ เป็นเทคนิคทางการค้าที่เอาดาราที่กำลังได้รับความนิยม เอานักร้องที่วัยรุ่นยึดถือเป็นแบบอย่าง เด็กๆ พร้อมจะทำตามทุกอย่างที่ศิลปินในดวงใจของเขาบอก  เด็กๆ ต้องรู้ว่าดาราไม่ได้ใช้สินค้าทุกตัวที่โฆษณาแน่ๆ  และเราก็ไม่จำเป็นต้องทำตามไปเสียทุกเรื่อง การเลือกซื้อสินค้า ควรดูที่ราคา ความจำเป็นต้องใช้ และความคุ้มค่าในการใช้งานในระยะยาว อย่าตามเพื่อน อย่าตามแฟชั่น เป็นตัวของเราเองดีที่สุด


โทรศัพท์มือถือปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาขณะติดต่อสื่อสาร ดังนั้น การพูดคุยโทรศัพท์แบบเอาแนบหูเป็นเวลานานก็ยิ่งเป็นอันตราย โดยเฉพาะเมื่อเวลาแบตเตอรี่ใกล้หมดนั้นคลื่นยิ่งแรง การอยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ไม่ดี  โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ด้วยแล้วคลื่นจะมีผลอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายมากกว่าผู้ใหญ่  ดังนั้น จึงควรใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุยแต่น้อย คุยสั้น กระชับ ได้ใจความ และควรใช้หูฟัง หรือ บลูทูธ ช่วย หรือไม่ก็ใช้โทรศัพท์แบบมีสายไปเลยจะดีกว่า


 - ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการมักเสนอแพ็กเกจบริการหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า เป็นต้นว่า ยิ่งคุยนานยิ่งราคาถูก  , ส่ง SMS 10 แถมฟรี 1 , เหมาจ่ายรายเดือนโทรไม่อั้น เป็นต้น เหล่านี้  ทำให้เราจ่ายมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะแม้อัตราโทรต่อนาทีจะถูกลง แต่เราจะคุยนานขึ้นทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องคุยนานขนาดนั้น  เช่นเดียวกัน เราพยายามจะส่งข้อความ SMS 10 ข้อความ เพื่อให้ได้ฟรี 1 ข้อความ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเราอาจโทรคุยสั้นๆ  2 นาที หรือส่ง SMS 3 ข้อความ ก็สื่อสารกันรู้เรื่องแล้ว รู้อย่างนี้แล้วจงตั้งสติ อย่าหลงโปรโมชั่นที่เน้นให้เราใช้เยอะ คุยนาน  เราต้องยืนหยัดวิธีใช้โทรศัพท์ที่ถูกต้อง คือ สื่อสารแต่พอดี ชัดเจน  สั้น ได้ใจความ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา และหลีกเลี่ยงการได้รับอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกด้วย


  – ตอนรับแจกซิมฟรี มักต้องกรอกใบสมัคร เซ็นชื่อ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  เรามักไม่ค่อยอ่านเอกสาร เพราะตื่นเต้นกับของฟรีต้องรีบรับรีบเซ็นชื่อ แต่นั่นเท่ากับเราสมัครจ่ายค่าบริการรายเดือนโดยไม่รู้ตัว  พอครบเดือนจะมีบิลมาเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการ ปฏิเสธก็ไม่ได้ เพราะกรอกเอกสาร เซ็นชื่อไปแล้ว จำไว้ว่าของฟรีไม่มีในโลก
ดูดวง ฟังขำขัน รับข่าวสาร ชิงโชค ขายสินค้านานาชนิด ฯลฯ เยอะแยะไปหมด ถ้าอยากบอกเลิกก็โทรหาผู้ให้บริการเครือข่ายที่เราใช้อยู่ ที่หมายเลข Call center ของแต่ละค่าย เช่น  AIS 1175 , True 1331 , Dtac 1678 , Hutch 1128 , TOT 1100 , TT&T 1103 และ CAT 1322  แจ้งขอระงับรับบริการข่าวสาร ดูดวง ขายของต่างๆ หากยังไม่ได้เรื่อง ให้ติดต่อ 1200 กด 1 บริการโทรฟรี ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (สำนักงาน กสทช.) หรือ ทางเว็บไซต์www.tci.or.th  อีเมล  tci.serbice@hotmail.com


ตัวอย่างเช่น มีการเสนอบริการเสียงรอสายฟรี 7 วัน  เราก็เห็นว่าดี ตอบตกลง กะว่าพอครบ  7 วัน จะรีบบอกยกเลิกบริการทันที  จะได้ไม่เสียสักบาท แต่ที่ไหนได้  ยกเลิกไม่ได้  แถมมีข้อความแจ้งเก็บเงินล่วงหน้า 1 เดือน ใช้ครบ 1 เดือน ถึงจะได้รับบริการฟรีอีก  7 วัน ทราบแล้วเปลี่ยน อย่าคิดเอาเปรียบเขา เราไม่มีทางได้เปรียบบริษัทหรอก


 -  เวลาดูโทรทัศน์ เห็นสมาร์ทโฟนโชว์โปรแกรม เกม ใหม่ๆ เก๋ๆ เท่ห์ๆ  ถ่ายภาพ ส่งภาพวิดีโอได้คมชัด รวดเร็ว สมจริง เสมือนคู่สนทนานั่งอยู่ตรงหน้า เด็กๆ ต้องรู้ว่าความเร็วในการติดต่อสื่อสาร ไม่ได้ขึ้นกับสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์รุ่นที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของเครือข่ายและเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล เช่น 3G, Wi-Fi, GPRS, EDGE ด้วย ดังนั้น หากจังหวัดของเรา ท้องที่ของเรายังไม่มีบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากพอ ซื้อสมาร์ทโฟนมาก็เสียเปล่า เพราะเน็ตเต่า คงดูวิดีโอ คุยกันสดๆ ทั้งภาพและเสียงไม่ได้อย่างที่เห็นในทีวีแน่ๆ


เคยมั้ย ตื่นเช้าก็รีบควานหามือถือก่อนเลย ต้องเช็คดูว่าพลาดรับไปกี่สาย มี SMS อะไรมาบ้าง ต้องรีบตอบก่อนทำอย่างอื่น  หูแว่วได้ยินเสียงโทรศัพท์หรือ SMS เข้ามาบ่อยๆ  จะกินข้าว เข้าห้องน้ำ เข้านอน ก็ต้องติดมือถือไว้กดดูได้ตลอด  ว่างเมื่อไหร่ต้องยกมือถือขึ้นมาดู ไม่มีใครโทรมาก็ขอโทรหาใครสักคนก็ยังดี หงุดหงิดทุกทีที่ต้องปิดมือถือ หากใครมีอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ แสดงว่าติดมือถือเสียแล้ว พยายามลดการใช้งานมือถือลงสักพัก อาการเหล่านี้น่าจะดีขึ้น ปล่อยไว้นานไม่ดี



ไม่คุยโทรศัพท์บนโต๊ะอาหารหรือเวลามีแขก ยกเว้นถ้าจำเป็นก็คุยให้สั้นได้ใจความแล้วรีบวางสาย  ไม่พูดคำหยาบ ไม่คุยเสียงดังในที่สาธารณะ เพราะไม่มีใครอยากได้ยินเรื่องส่วนตัวของเรา อย่าให้เบอร์มือถือกับคนแปลกหน้า อย่าเอาโทรศัพท์คล้องคอล่อโจร และหมั่นชาร์ตแบตเตอรี่และเติมเงินไว้ให้พอใช้ได้ในยามฉุกเฉิน  และควรเก็บหมายเลขสำคัญๆ ของพ่อแม่ เพื่อน และหมายเลขฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ เช่น ตำรวจ  รถดับเพลิง โรงพยาบาล จะได้โทรด่วนได้ในยามคับขันจำเป็น แต่อย่าโทรด้วยคึกคะนองไปก่อกวนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายล่ะ เพราะจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน